อนุทินที่2
แบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด
1.
ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมาย
หากไม่มีจะเป็นอย่างไร
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่อยู่ลำพังโดดเดี่ยวไม่ได้มีความจำเป็นที่ต้องอยู่ร่วมกันภายในสังคม
เพื่อพึ่งพาอาศัยกัน ติดต่อ แลกเปลี่ยนกัน
ช่วยเหลือกันเพื่อให้ดำรงตนอยู่รอดปลอดภัย แต่การอยู่ร่วมกันในสังคมเดียวกันนั้นมักจะมีเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่มีสาเหตุเกิดจากความไม่ลงรอย
ความขัดแย้ง ทะเลาะวิวาท การทำร้ายร่างกาย หรือการก่ออาชญากรรมมากมายจนก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นภายในสังคมซึ่งจากเหตุการณ์เหล่านี้จึงมีความจำเป็นที่มนุษย์จะต้องสร้างและกำหนดกฎเกณฑ์และกติกาต่าง
ๆ ขึ้นมาเพื่อใช้บังคับแก่สมาชิกในสังคม
เพื่อควบคุมความประพฤติของสมาชิกให้ปฏิบัติอยู่ในกรอบเป็นไปในทำนองเดียวกัน
และเพื่อให้ดำรงตนอยู่ในสังคมภายใต้ระเบียบแบบแผนเดียวกันอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
แต่ถ้าหากมนุษย์เรานั้นไม่มีกฎหมายรับรองได้ว่าในสังคมนั้นจะเกิดทั้งความขัดแย้ง
ความวุ่นวาย ผู้คนไม่เคารพซึ่งกันและกัน สังคมขาดความเป็นระบบ ขาดความเป็นระเบียบ
มนุษย์ทุกคนไม่สามารถดำรงตนอยู่ได้อย่างมีความสุขและอาจส่งผลไปถึงความล่มสลายของสังคม
2.
ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายจะเป็นอย่างไร
หากสังคมปัจจุบันไม่มีกฎหมาย สังคมคงไม่สามารถดำรงอยู่ได้
เพราะกฎหมายคือระเบียบแบบแผนที่กำหนดขึ้นมาไว้เพื่อให้ทุกคนยอมรับและจะต้องเคารพและปฏิบัติตามหากไม่มีการเคารพหรือไม่มีการปฏิบัติตาม
สังคมจะต้องเกิดความวุ่นวาย ความแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน จะเป็นสังคมแห่งความขัดแย้งไร้ซึ่งความสงบสุข
3.
ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ก. ความหมาย กฎหมาย
คำสิ่งหรือข้อบังคับของรัฐ
ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมความประพฤติของบุคคลซึ่งอยู่ในรัฐหรือในประเทศของตน
หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ประพฤติปฏิบัติตาม ก็จะมีความผิดและถูกลงโทษ หรือได้รับผลเสียหายนั้นด้วย
ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับหมายความว่า
กฎหมายนั้นต้องอยู่ในรูปของคำสั่ง คำบัญชา
อันเป็นการแสดงออกซึ่งความประสงค์ของผู้มีอำนาจในลักษณะเป็นการบังคับ
เพื่อให้บุคคลอีกคนหนึ่งปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติ มิใช่เป็นการประกาศชวนเชิญเฉย
ๆ เช่น ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลได้ประกาศเชิญชวนคนไทยให้สวมหมวก
เลิกกินหมากและให้นุ่งผ้าซิ่นแทนผ้าโจงกระเบน
ประกาศนี้แจ้งให้ประชาชนทราบว่ารัฐบาลนิยมให้ประชาชนปฏิบัติอย่างไร
มิได้บังคับจึงไม่เป็นกฎหมาย
2.
กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฏฐาธิปัตย์ รัฎฐาธิปัตย์คือ
ผู้ที่ประชาชนส่วนมาก
ยอมรับนับถือว่าเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน
โดยที่ไม่ต้องฟังอำนาจจากผู้ใดอีก ดังนี้ รัฎฐาธิปัตย์จึงไม่ต้องพิจารณาถึงที่มาหรือลักษณะการได้อำนาจว่าจะได้
อย่างไร แม้จะเป็นการปฏิวัติหรือรัฐประหารก็ตามถ้าหากคณะปฏิวัติหรือคณะรัฐประหาร
เป็นรัฎฐาธิปัตย์ที่สามารถออกคำสั่ง คำบัญชาในฐานะเป็นกฎหมายของประเทศได้
3.
กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป หมายความว่า
กฎหมายต้องเป็นเรื่องที่เมื่อประกาศใช้แล้วจะมีผลบังคับเป็นการทั่วไป
ไม่ใช่กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่ง
หรือให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดปฏิบัติตามเท่านั้น ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีอายุ เพศ
หรือฐานะอย่างไรก็ตกอยู่ภายใต้ของการใช้บังคับกฎของกฎหมายอันเดียวกัน
(โดยไม่เลือกปฏิบัติ)
เพราะบุคคลทุกคนมีความเสมอภาคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน
แม้กฎหมายบางอย่างอาจจะมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ประโยชน์แก่บุคคล
หรือวางความรับผิดชอบให้แก่คนบางหมู่เหล่า
แต่ก็ยังอยู่ในความหมายที่ว่าใช้บังคับทั่วไปอยู่เหมือนกัน เพราะคนทั่ว ๆ
ไปที่เข้ามาเกี่ยวข้องในกฎหมายนั้นก็ยังต้องปฏิบัติตามอยู่เสมอ
4.
กฎหมายบัญญัติขึ้นเพื่อให้บุคคลปฏิบัติตามแม้การปฏิบัติบางครั้งอาจจะเกิดจากความไม่เต็มใจที่จะ
ปฏิบัติ
แต่หากเป็นคำสั่ง คำบัญชาแล้ว ผู้รับคำสั่ง คำบัญชา ต้องปฏิบัติตาม หากขัดขืนไม่ปฏิบัติตามก็จะเกิดสภาพบังคับของกฎหมาย
อันเป็นผลร้ายต่อผู้ฝ่าฝืนคำสั่งนั้น
และเป็นที่พึงเข้าใจด้วยว่าผู้ที่อยู่ในฐานะที่จะรับคำสั่งและปฏิบัติตาม
กฎหมายได้นั้นต้องเป็นบุคคลตามกฎหมาย
5.
กฎหมายต้องมีสภาพบังคับเพื่อให้กฎหมายเกิดความศักดิ์สิทธิ์ และประชาชนเคารพเชื่อฟังปฏิบัติตาม
กฎหมายจึงต้องมีสภาพบังคับ
(SANCTION) สภาพบังคับของกฎหมายนั้นแบ่งเป็นสภาพบังคับในทางอาญาและทางแพ่ง
ค. ที่มาของกฎหมาย
ที่มาของระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร
1. กฎหมายลายลักษณ์อักษร
ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร เป็นระบบที่สืบทอดมาจาก
กฎหมายโรมัน
ซึ่งให้ความสำคัญกับตัวบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้โดยถูกต้องตามกระบวนการบัญญัติกฎหมาย
ดังนั้นที่มาประการสำคัญของระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร
ก็คือกฎหมายที่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
2. จารีตประเพณี
ในบางครั้งการบัญญัติกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร จะให้ครอบคลุมทุกเรื่อง
เป็นไปได้ยาก
จึงต้องมีการนำเอาจารีตประเพณี มาบัญญัติใช้เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรด้วย
3. หลักกฎหมายทั่วไป
ในบางครั้งถึงแม้จะมีกฎหมายลายลักษณ์อักษร และกฎหมายจารีต
ประเพณี
มาใช้พิจารณาตัดสินความแล้วก็ตาม แต่ก็อาจไม่เพียงพอครอบคลุมได้ทุกเรื่อง
จึงต้องมีการนำเอาหลักกฎหมายทั่วไป ซึ่งประเทศอื่น ๆ ที่มีความก้าวหน้าทางกฎหมาย
ได้ยอมรับกฎหมายนั้นแล้ว มาปรับใช้ในการพิจารณาตัดสินคดีความด้วย
ที่มาของกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1. จารีตประเพณี
ถือว่าเป็นที่มาประการสำคัญของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
เนื่องจากกฎหมายระบบนี้เกิดจากการนำเอาจารีตประเพณี
ซึ่งคนในสังคมยอมรับและปฏิบัติสืบต่อกันมานาน
มาใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความ
2. คำพิพากษาของศาล
จารีตประเพณีใดที่ถูกนำมาใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความ
แล้ว
ก็จะกลายเป็นคำพิพากษาของศาล ซึ่งคำพิพากษาบางเรื่องอาจถูกนำไปใช้เป็นหลัก
หรือเป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาตัดสินคดีความต่อ ๆ ไป
คำพิพากษาของศาลจึงเป็นที่มาอีกประการหนึ่งของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
3. กฎหมายลายลักษณ์อักษร ในสมัยต่อ ๆ
มาบ้านเมืองเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว การที่จะรอให้
จารีตประเพณีเกิดขึ้นย่อมไม่ทันกาล
บางครั้งจึงจำเป็นต้องสร้างกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นมาใช้ด้วย
4. ความเห็นของนักนิติศาสตร์
ระบบกฎหายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ยังยอมรับความเห็นของ
นักนิติศาสตร์มาใช้เป็นหลักในการตัดสินคดีความด้วย
เพราะนักนิติศาสตร์เป็นผู้ที่ศึกษากฎหมายอยู่เสมอ เป็นผู้ที่มีความรู้ ความคิด
มีเหตุผล ความเห็นของนักนิติศาสตร์ที่มีชื่อเสสียงและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
ย่อมมีน้ำหนักพอที่จะนำไปใช้อ้างอิงในการพิจารณาตัดสินความได้
5 .หลักความยุติธรรมหรือมโนธรรมของผู้พิพากษา
ในระยะหลังที่บ้านเมืองเจริญขึ้นสภาพสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ก็เปลี่ยนแปลงไป
การใช้จารีตประเพณีและคำพิพากษาก่อน ๆ
มาเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความอาจไม่ยุติธรรม จึงเกิดศาลระบบใหม่ขึ้น ซึ่งศาลระบบนี้จะไม่ผูกมัดกับจารีตประเพณีหรือคำพิพากษาของศาลเดิม
แต่จะยึดหลักความยุติธรรมและให้ความเป็นธรรมแก่คู่กรณี
ซึ่งเรียกว่ามโนธรรมของผู้พิพากษา(Squity) ซึ่งต่อมาได้รับการยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
ง. ประเภทของกฎหมาย
การแบ่งแยกประเภทของกฎหมาย
กฎหมายแบ่งแยกตามข้อความของกฎหมายได้เป็น 3 ประเภท
(1) กฎหมายมหาชน (Public Law)
(2) กฎหมายเอกชน (Private Law)
(3) กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law)
4.
ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย
จงอธิบาย
ทุกประเทศมีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเพราะทุกประเทศก็มีความต้องการให้ประเทศของตนมีความสงบ
ไม่มีความวุ่นวาย ไม่เกิดความขัดแย้ง ไม่มีสถานการณ์เลวร้าเกิดขึ้นภายในสังคม
อยากให้ทุกคนภายในประเทศดำรงตนได้อย่างมีความสุข
5.
สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
คือโทษต่างๆในกฎหมาย ถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา
ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ส่วนสภาพบังคับของกฎหมายแพ่ง
ได้แก่การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นตกเป็นโมฆะหรือโมฆียะ
6.
สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
แตกต่างกันด้วยสภาพบังคับ กฎหมายอาญา
ก็มีลักษณะที่เป็นอาชญา ที่ลงโทษผู้ที่ทำผิดที่มุ่งร้ายต่อชีวิต
และทรัพย์สินซึ่งโทษพวกนี้มักจะมีการลงโทษให้จำคุก ต้องขังกันไปเช่นฆ่าคนตาย
ข่มขืน พรากผู้เยาว์ ค้ายาเสพติด เป็นต้นส่วนกฎหมายแพ่งและพานิชย์
มักจะเป็นกฎหมายควบคุมผู้กระทำผิดที่มุ่งหวังทรัพย์สิน และศักดิ์ศรีของผู้อื่น
บทลงโทษของกฎหมายแพ่งจึงมักจะเป็นการเรียกปรับ
หรือสั่งให้ชดเชยค่าเสียหายให้แก่เจ้าทุกข์เป็นหลัก จะไม่มีการระวางโทษคุมขังจองจำ
คดีแพ่งได้แก่ การยืมทรัพย์ ฉ้อโกง หลอกลวง มรดก เป็นต้น
7.
ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
1.
ระบบซีวิลลอร์ หรือระบบลายลักษณ์อักษร
ถือกำเนิดขึ้นในทวีปยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นระบบเอามาจาก “Jus Civile” ใช้แยกความหมาย
“Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ
เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น
คาพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย
แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น
เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ จะถือเอาคาพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของ
นักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่า กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน
และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายนี้
2. ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษมีรากเหง้ามาจากศักดินา
ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคาว่า “เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
นาเอาจารีตประเพณีและคาพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้
จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง
การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้
8.
ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท
แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
กฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้มีหลายรูปแบบหลายลักษณะ
กฎหมายบางฉบับก็มีลักษณะคล้ายกัน บางฉบับก็มีลักษณะที่แตกต่างกัน
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการแยกกฎหมายออกเป็นประเภทๆ เพื่อสะดวกในการศึกษาค้นคว้าและง่ายต่อการเข้าใจ
ในการแบ่งแยกประเภทของสิ่งใด จำเป็นต้องมีหลักเกณฑ์ในการแบ่งแยก กฎหมายก็เช่นกัน
หลักเกณฑ์ที่ใช้แบ่งแยกกฎหมายออกเป็นประเภทขึ้นอยู่ว่าจะยึดอะไรเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง
ซึ่งมีหลายเกณฑ์ดังนี้
แบ่งแยกกฎหมายตามลักษณะของการใช้
แบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ
1.กฎหมายสารบัญญัติ (Substantive Law) สาระแปลว่าแกนหรือเนื้อแท้ดังนั้น
จึงเป็นกฎหมาย
ที่เป็นแก่นหรือเนื้อแท้ของกฎหมายจริงๆ
คือเป็นกฎหมายที่วางระเบียบบังคับแก่การประพฤติปฏิบัติของพลเมืองให้กระทำหรือห้ามมิให้กระทำการใด
ตลอดจนกำหนด สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่างๆ ของบุคคลไว้
หากผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษในทางอาญาหรือถูกบังคับให้ชำระหนี้ในทางแพ่ง เช่น
ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัติป่าไม้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายรัษฎากร เป็นต้น
2.กฎหมายวิธีสบัญญัติ (Adjective Or Procedural Law) หมายถึงที่กำหนดถึงวิธีดำเนินการทาง
ศาล
กล่าวคือหากมีผู้ใดกระทำละเมิดต่อกฎหมายในส่วนสารบัญญัติ
การที่จะบังคับให้การที่จะบังคับให้การเป็นไปตามกฎหมายสารบัญญัติที่ถูกละเมิด
ก็จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ ต้องผ่านกระบวนการทางศาล ด้วยเหตุผลที่ว่ากฎหมายจะไม่ให้พลเมืองลงโทษกันเอง
มิฉะนั้นบ้านเมืองจะไม่มีวันสงบ จึงต้องให้กระบวนการทางการศาล
ก็คือกระบวนการกฎหมายวีธีสบัญญัติ เช่น นาย ก. ลักทรัพย์ของนาย ข.
ซึ่งความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาอันเป็นกฎหมายสารบัญญัติ การที่จะลงโทษนาย ก.
จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งจะถือว่าการร้องทุกข์ การจับ
การค้น การสืบสวน การฟ้องของผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการ
วิธีพิจารณาและพิพากษาของศาลตลอดจนการลงโทษ หรือในทางแพ่งเช่น นาย A กู้เงินของนาย B
แล้วผิดนัดไม่ชำละหนี้ การที่นาย B จะบังคับให้นาย A ชำระหนี้กู้แก่ตนก็จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งคือจะต้องบังคับนาย
A ต่อศาลส่วนแพ่งให้บังคับนาย A ชำระหนี้เงินกู้แก่ตนก็จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายพิจารณาความแพ่งคือต้องฟ้องบังคับนาย
A ต่อศาลส่วนแพ่งให้บังคับนาย A ต่อศาลส่วนแพ่งให้กับนาย
A ต่อศาลส่วนแพ่งให้บังคับนาย
A ชำระเงินหนี้แก่ตน
แบ่งตามกฎหมายตามลักษณะความสัมพันธ์ของคู่กรณี โดยพิจารณาจากตัวบทกฎหมายนั้นว่า
มีลักษณะอย่างไร
ทั้งนี้เพ็งเล็งไปถึงความสัมพันธ์ของคู่กรณีว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างใครกับใคร
ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ
กฎหมายเอกชน (Private Law) หมายถึงกำหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างเอกชน
หรือระหว่างเอกชนกับรัฐ
ในฐานะที่รัฐดำเนินการอย่างเอกชนเกี่ยวกับสถานะภาพของบุคคลตาม
กฎหมาย
สิทธิและหน้าที่ของเอกชน รวมทั้งระเบียบเกี่ยวกับทรัพย์สินของเอกชน
กฎหมายเอกชนที่สำคัญ เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์
กฎหมายมหาชน (Public Law) เป็นกฎหมายที่วางระเบียบเกี่ยวพันระหว่างรัฐกับเอกชน
ใน
ฐานะที่รัฐมีอำนาจปกครองเอกชนที่อยู่ในดินแดนของรัฐ
กฎหมายมหาชนที่สำคัญ เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยพระธรรมมนูญศาลยุติธรรม
กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law) เป็นกฎหมายหรือหลักปฏิบัติที่ยอมรับกันว่าด้วย
รัฐและความเกี่ยวพันระหว่างรัฐ
รวมทั้งการเกี่ยวพันระหว่างรัฐกับองค์การระหว่างประเทศและประชาคมระหว่างประเทศ
ซึ่งในความเป็นจริงแล้วจะเห้นว่าไม่มีตัวบทกฎหมายระหว่างประเทศบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแม้แต่ฉบับเดียว
แต่จะเป็นธรรมเนียมประเพณีที่ถือปฏิบัติมา
หรืออย่างมากก็เป็นเพียงสนธิสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างประเทศ
ดังนั้นกฎหมายประเภทนี้จึงเป็นเพียงธรรมเนียมปฏิบัติระหว่างประเทศที่ถือกันมาเท่านั้น
ซึ่งกฎหมายประเภทนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 สาขา คือ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
แบ่งกฎหมายตามลักษณะเฉพาะของกฎหมายลายลักษณ์อักษร ประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้
กฎหมายระบบซีวิลลอร์
ดังนั้นกฎหมายส่วนใหญ่จึงเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร แต่มีอยู่
หลายประเภท
ทั้งนี้เนื่องจากมีองค์กรที่มีอำนาจในการตรากฎหมายแตกต่างกัน
ซึ่งโดยปกติแล้วรัฐสภาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติจะมีหน้าที่โดยตรงในการตรากฎหมายลายลักษณ์อักษร
เพื่อใช้บังคับความประพฤติของพลเมือง
แต่ก็มีบางกรณีที่องค์กรอื่นที่มีอำนาจในการตรากฎหมายลายลักษณ์อักษรออกใช้บังคับได้ซึ่งแบ่งออกเป็น
3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติได้แก่
1.รัฐธรรมนูญ
2.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
3.พระราชบัญญัติ
4.ประมวลกฎหมาย
5.กฎมณเฑียนบาล
กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ออกโดยฝ่ายบริหารได้แก่
1.พระราชกำหนด
2.พระราชกฤษฎีกา
3.กฎกระทรวง
4.ประกาศกระทรวง , ประกาศของทางราชการที่ออกตามกฎหมายบางฉบับ
กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ออกโดยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
1.ข้อบังคับจังหวัด
2.เทศบัญญัติ
3.ข้อบังคับตำบล
4.ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
5.ข้อบัญญัติเมืองพัทยา
นอกจากนี้ยังมีกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ออกโดยฝ่ายตุลาการ
เช่น วิธีพิจารณาของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับชั่วคราว) พศ.ศ.2549 ตามมาตรา 35 วรรคสาม
กำหนดให้เป็นไปตามที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้น
9.
ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
ลำดับชั้นของกฎหมายหรืออีกนัยหนึ่งคือ
ลำดับความสูงต่ำของกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งความไม่เท่าเทียมกันของกฎหมายแต่ละฉบับนั้น
พิจารณาได้จากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย
หมายความว่ากฎหมายแต่ละฉบับจะมีชั้นของกฎหมายในระดับนั้น ให้พิจารณาจากองค์กรที่ออกกฎหมายฉบับนั้น
การจัดแบ่งลำดับชั้นของกฎหมายไทยสามารถจัดแบ่งลำดับชั้น ออกเป็น
7 ประเภท ดังนี้
1.
รัฐธรรมนูญ
เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
กฎหมายใดขัดแย้งไม่ได้
โดยจะมีเนื้อหา
เกี่ยวกับการใช้อำนาจอธิปไตย ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง สิทธิเสรีภาพของประชาชน
2.
พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย
เป็นกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้น
3.
พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของ
คณะรัฐมนตรี ตามบท
บัญญัติในรัฐธรรมนูญใช้ในกรณีจำเป็นรีบด่วนหรือเรื่องที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ ความปลอดภัยของประเทศ แต่ต้องเสนอต่อรัฐสภาโดยเร็ว
4.
พระราชกฤษฎีกา
เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของ
คณะรัฐมนตรี
เพื่อกำหนดรายละเอียดตามพระราชบัญญัติที่กำหนดไว้
5.
กฎกระทรวง
เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีตราขึ้นผ่านคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการให้เป็นไป
ตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด
6.
ข้อบังคับหรือข้อบัญญัติ เป็นกฎหมายขององค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น เทศบาล
กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา
เป็นต้น
7.
ประกาศคำสั่ง
เป็นกฎหมายเฉพาะกิจ เช่น
พระบรมราชโองการ ประกาศคณะปฎิวัติ
คำสั่งหน่วยงานราชการ เป็นต้น
10.
เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ของประชาชน ณ
ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า
รัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ
ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายเหตุผลว่า
รัฐบาลกระทำผิดหรือไม่
เป็นการกระทำที่ผิด รัฐบาลได้มีการทำร้ายร่างกายถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิของประชาชน
เพราะประชาชนนั้นมีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องสิทธิของตน แต่รัฐบาลนั้นกระทำเกินกว่าเหตุ
11.
ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร
จงอธิบาย
กฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการศึกษาคือ
จะเป็นกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหรือหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นบังคับใช้
12.
ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายท่านคิดว่า
เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครู จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
มีผลกระทบ
หากในอนาคตเมื่อได้ประกอบอาชีพเป็นครูแล้วหากวันใดเกิดมีเรื่องราวเกิดขึ้นถ้าเราไม่รู้กฎหมายเลยมีความเป็นไปได้ว่าเราจะไม่สามารถหาแนวทางแก้ไขปัญหาหรือวิธีการดำเนินการเรื่องราวนั้นๆได้เลยจึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องเรียนรู้และศึกษาไว้บ้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น