วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

ข้อสอบปลายภาควิชากฎหมายการศึกษา

ข้อสอบปลายภาควิชากฎหมายการศึกษา
               
1. ให้นักศึกษาอธิบาย คำว่า ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร (5 คะแนน)

·       ศีลธรรม คือ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ภายในจิตใจของมนุษย์จะมีความรู้สึกผิดชอบ มีสติปัญญาที่สามารถพิจารณาได้ว่าทำอะไรไปบุคคลอื่นอาจจะไม่ยินดีไม่ยินยอมอาจจะต่อสู้ ขัดขวางหรือมีการแก้แค้นได้ มนุษย์เราก็จะต้องระมัดระวังไม่กระทำในสิ่งที่อาจถูกคนอื่นตอบโต้หรืออาจจะถูกตำหนิ ติเตียนได้ ความรู้สึกระมัดระวังเหล่านี้จะเกิดขึ้นในจิตใจของมนุษย์เองว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ควรกระทำหรือไม่ควรกระทำที่เราเรียกว่า ศีลธรรม
·       จารีตประเพณี  คือ ระเบียบแบบแผนหรือแนวทางการประพฤติปฏิบัติที่สืบทอดกันมาช้านานและเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม ซึ่งแต่เดิมนั้นกฎหมายก็มีที่มาหรือได้รับแนวทางจากจารีตประเพณีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

อนุทินที่ 8 การอบรมเรื่อง SWOT

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรมเรื่อง SWOT

                จากการที่ดิฉันได้เข้าร่วมฟังการอบรมเรื่อง SWOT ในวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมานั้นทำให้ดิฉันเกิดการเรียนรู้ในหลากหลายเรื่องราวด้วยกัน ซึ่งวิทยากรนั้นเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์มากมายซึ่งเราทราบกันดีว่าในเรื่องของ SWOT นั้นเป็นเรื่องที่ยากและยิ่งไปกว่านั้นพวกเรานั้นไม่ค่อยมีความรู้พื้นฐานทางเรื่องนี้เลย ซึ่งท่านวิทยากรก่อนที่จะเข้าเรื่องดังกล่าว ท่านก็มีการเริ่มต้นเรื่องราวๆต่างเพื่อปูพื้นฐานและนำไปสู่เรื่องราวที่เกี่ยวกับ SWOT ซึ่งสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนั้นประกอบไปด้วยเรื่องของ เรื่องการวางแผนเชิงกลยุทธ์ แนวคิดของ SWOT Analysis  และ SWOT ในสถานศึกษา

วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่7 แบบฝึกหัดทบทวนบทที่4

อนุทินที่ 7
แบบฝึกหัดทบทวน

พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และกฎกระทรวง

คำสั่ง  ตอบคำถามต่อไปนี้ (1-3 พ.ร.บ.ภาคบังคับ, 4 พ.ร.บ.บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ)
1. เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
·       การศึกษาเป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพเพื่อความสมบูรณ์และเจริญงอกงามทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม สังคม อารมณ์และจิตใจในการดำรงชีวิต เมื่อการศึกษานับเป็นกระบวนการพื้นฐานในการสร้างและพัฒนาคน ดังนั้น  ประชากรในประเทศหนึ่งๆจึงควรได้รับสิทธิในการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมโดยในประเทศไทยนั้นก็ได้มีกฎหมายเฉพาะที่ตราโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้และสนับสนุนสิทธิทางด้านการศึกษาของเด็กไทย โดยมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542และปรับปรุงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเป็นพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545

วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่6 แบบฝึกหัดทบทวนบทที่3

อนุทินที่6
แบบฝึกหัดทบทวน
จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1. นักศึกษาอธิบายคำนิยามต่อไปนี้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ก. การศึกษา ข. การศึกษาขั้นพื้นฐาน ค. การศึกษาตลอดชีวิต ง. มาตรฐานการศึกษา
จ. การประกันคุณภาพภายใน ช. การประกันคุณภาพภายนอก ซ. ผู้สอน ฌ. ครู
ญ. คณาจารย์ ฐ. ผู้บริหารสถานศึกษา ฒ. ผู้บริหารการศึกษา ณ. บุคลากรทางการศึกษา
·       ก. การศึกษา หมายถึง กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม ให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และการศึกษา คือ กระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต
·       ข. การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่า การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
·       ค. การศึกษาตลอดชีวิต หมายความว่า การศึกษาที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยเกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย
·       ง. มาตรฐานการศึกษา หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมิน และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
·       จ. การประกันคุณภาพภายใน หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กากับดูแลสถานศึกษานั้น
·       ช. การประกันคุณภาพภายนอก หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สานักงานดังกล่าวรองรับ เพื่อเป็นการประกันคุณภาพ และให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษา
·       ซ. ผู้สอน หมายความว่า ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ
·       ฌ. ครู หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
·       ญ. คณาจารย์ หมายความว่า บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาและระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
·       ฐ. ผู้บริหารสถานศึกษา หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษาแต่ละแห่งทั้งของรัฐและเอกชน
·       ฒ. ผู้บริหารการศึกษา หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
·       ณ. บุคลากรทางการศึกษา หมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทาหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ

วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่5 วิเคราะห์ข่าวความขัดแย้งของพระ

DSI เข้าวัดพระธรรมกายขอค้นเพิ่ม

ด้านวัดไม่ยินยอม พร้อมแฉเอกสารตรวจครบแล้ว !
ดีเอสไอ เจรจาขอค้นโซนเอ-บี วัดพระธรรมกาย จ่อขยับมาตรการหากไม่ได้รับความร่วมมือ ด้านวัดพระธรรมกาย ยืนยัน ไม่ยอมให้เข้าค้น แฉเอกสารตรวจครบแล้ว            
          วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศความเคลื่อนไหวที่ประตู 7 วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี หลังจากเจ้าหน้าที่กำหนดเส้นตายให้ พระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย เข้ามอบตัวภายในเวลา 10.00 น. ล่าสุดมีรายงานว่า นายสมเกียรติ ธงสี ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พร้อมคณะ และตัวแทนจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้ขับรถเข้าไปยังพื้นที่วัดพระธรรมกาย ประมาณ 4 คัน เพื่อเจรจาตรวจค้นพื้นที่ควบคุมพิเศษ โซนเอ และโซนบี ของวัดพระธรรมกาย ที่เจ้าหน้าที่ได้ขีดเส้นตายการเจรจาไว้ที่เวลา 10.00 น. จึงจะทราบผลการพูดคุยดังกล่าว หากไม่เป็นผลก็อาจจะมีการขยับมาตรการต่อไป

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

อนุทินที่4 แบบฝึกหัดทบทวนบทที่ 2

อนุทินที่4
แบบฝึกหัดทบทวนบทที่ 2

1.ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเป็นอย่างไร อธิบาย
· ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก คือ คณะราษฎร์ ซึ่งเหตุผลของผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามที่ถือเป็นฉบับแรกคือ คณะราษฎร์ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่าบัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้วมีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลนโยบายสามารถนำประเทศของตนในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาในภายภาคหน้า
· ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคือ หมวด2สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา14 ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างการเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ (ราชกิจจานุเบกษา,2475,536)

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

อนุทินที่3 วิเคราะห์ข่าวกฎหมายการศึกษา


อนุทินที่3
วิเคราะห์ข่าวกฎหมายการศึกษา
ฉาวอีก! ครูฝ่ายปกครองทำร้าย นร.หญิง แค่ไม่พอใจน้ำเสียง
ฉาวอีก! ครูฝ่ายปกครอง โรงเรียนชื่อดังแห่งหนึ่งใน จ.ชัยนาท ทำร้ายนักเรียนหญิง สาเหตุแค่ไม่พอใจนักเรียนพูดขึ้นเสียง
วันนี้ 3 ต.ค. เกิดเรื่องอื้อฉาวขึ้นกับวงการศึกษาไทยอีกครั้งเมื่อนักเรียนหญิงชั้น ม.ปลายโรงเรียนชื่อดังแห่งหนึ่งใน จ.ชัยนาท ได้โพสต์ภาพร่องรอยบาดแผลที่เธออ้างว่าถูกอาจารย์ฝ่ายปกครอง ทำร้ายด้วยการชกจนเธอได้รับบาดเจ็บ