วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

ข้อสอบปลายภาควิชากฎหมายการศึกษา

ข้อสอบปลายภาควิชากฎหมายการศึกษา
               
1. ให้นักศึกษาอธิบาย คำว่า ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร (5 คะแนน)

·       ศีลธรรม คือ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ภายในจิตใจของมนุษย์จะมีความรู้สึกผิดชอบ มีสติปัญญาที่สามารถพิจารณาได้ว่าทำอะไรไปบุคคลอื่นอาจจะไม่ยินดีไม่ยินยอมอาจจะต่อสู้ ขัดขวางหรือมีการแก้แค้นได้ มนุษย์เราก็จะต้องระมัดระวังไม่กระทำในสิ่งที่อาจถูกคนอื่นตอบโต้หรืออาจจะถูกตำหนิ ติเตียนได้ ความรู้สึกระมัดระวังเหล่านี้จะเกิดขึ้นในจิตใจของมนุษย์เองว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ควรกระทำหรือไม่ควรกระทำที่เราเรียกว่า ศีลธรรม
·       จารีตประเพณี  คือ ระเบียบแบบแผนหรือแนวทางการประพฤติปฏิบัติที่สืบทอดกันมาช้านานและเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม ซึ่งแต่เดิมนั้นกฎหมายก็มีที่มาหรือได้รับแนวทางจากจารีตประเพณีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

·       กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของบุคคลในสังคมซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามหรือควรจะปฏิบัติตาม มิฉะนั้นจะได้รับผลร้ายหรือไม่ได้รับผลดีที่เป็นสภาพบังคับโดยเจ้าหน้าที่ในระบบกฎหมายและในอีกทางหนึ่งกฎหมายก็ยังเป็นสัญลักษณ์ และเป็นเครื่องมือในการแสดงออกซึ่งความยุติธรรมอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับต่อการกระทำของมนุษย์ไม่ได้มีแค่กฎหมายแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีจารีตประเพณี ศีลธรรม และศาสนามาคอยช่วยกำกับการ
·       ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย ทั้ง3ประเด็นนี้มีความแตกต่างกันเพราะศีลธรรมก็คือความรู้สึกรับผิดชอบภายในใจกับสิ่งที่จะกระทำและผลที่จะเกิดขึ้นหรือกล่าวง่ายๆคือ เป็นข้อกำหนดจากจิตใจบังคับไว้ไม่ให้กระทำ ส่วนคำว่า จารีตประเพณี ก็คือ สิ่งที่ยึดถือและปฏิบัติตามกันมาในท้องถิ่นนั้นๆทุกคนต่างยอมรับกับผลการกระทำและจะต้องมีเหตุผลและความเป็นธรรมแต่ต้องไม่ขัดกับกฎหมายบ้านเมือง และสุดท้ายคำว่า กฎหมาย คือ สิ่งที่ทุกคนเห็นชัดอยู่แล้วเมื่อกล่าวถึง คือ สิ่งที่กำหนดขึ้นมาเพื่อเป็นกฎของสังคมและทุกคนต้องยอมรับและปฏิบัติตามเชื่อฟังอย่างว่าง่ายแต่โดยสรุปแท้จริงแล้วทั้ง3ประเด็นที่กำหนดขึ้นมานั้นต่างมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือสร้างประโยชน์สูงสุดภายในสังคมและต้องการให้คนบนโลกอาศัยอยู่ร่วมกันภายในสังคมได้อย่างมีความสุขไม่เกิดความขัดแย้ง วุ่นวายกันภายในสังคม
  
2. คำว่าศักดิ์ของกฎหมาย คืออะไร  มีการจัดอย่างไร  โปรดยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ 
คำสั่งคสช. พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง
(5 คะแนน)

·       ศักดิ์ของกฎหมาย คือ ลำดับความสูงต่ำของกฎหมายการจัดศักดิ์ของกฎหมายมีความสำคัญต่อกระบวนวิธีการต่าง ๆ ทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ การตีความ และการยกเลิกกฎหมาย เช่น หากกฎหมายฉบับใดมีลำดับชั้นของกฎหมายสูงกว่า กฎหมายฉบับอื่นที่อยู่ในลำดับต่ำกว่าจะมีเนื้อหาขัดหรือแย้งกับกฎหมายสูงกว่านั้นมิได้ และอาจถูกยกเลิกไปโดยปริยาย หรืออีกนัยหนึ่งคือ ลำดับความสูงต่ำของกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งความไม่เท่าเทียมกันของกฎหมายแต่ละฉบับนั้น พิจารณาได้จากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย หมายความว่ากฎหมายแต่ละฉบับจะมีชั้นของกฎหมายในระดับนั้น  ให้พิจารณาจากองค์กรที่ออกกฎหมายฉบับนั้นดังนั้นกฎหมายที่มีศักดิ์หรือลำดับชั้นต่ำกว่าหรืออาจเรียกอีกอย่างว่ากฎหมายลูก จะต้องออกหรือตราออกมาให้มีข้อความสอดคล้องกับกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่า ซึ่งเป็นกฎหมายแม่ให้อำนาจกฎหมายลูกไว้ หากบัญญัติออกมามีข้อความขัดแย้งหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายแม่แล้ว จะมีผลให้กฎหมายลูกที่มีศักดิ์ต่ำกว่าใช้บังคับมิได้ ดังนั้น ศักดิ์ของกฎหมายจึงหมายถึง ลำดับฐานะหรือความสูงต่ำของกฎหมายที่มีความสำคัญสูงกว่าหรือต่ำกว่ากัน
·       ลำดับการจัด สามารถเรียงได้ดังต่อไปนี้
§  รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ  คำสั่งคสช.
§  พระราชกำหนด พระราชบัญญัติ พระบรมราชโองการ
§  พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง
§  เทศบัญญัติ
·       การจัดแบ่งลำดับชั้นของกฎหมายไทยสามารถจัดแบ่งลำดับชั้น  ออกเป็น  7  ประเภท  ดังนี้
1.             รัฐธรรมนูญ
2.             พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
3.             พระราชบัญญัติ
4.             พระราชกำหนด
5.             พระราชกฤษฎีกา
6.             กฎกระทรวง
7.             กฎหมายที่ตราโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  
1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ
                เป็นกฎหมายสูงสุด จึงเป็นแม่บทของกฎหมายทุกฉบับ ดังนั้นกฎหมายทุกประเภทจะออกมาขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ หากกฎหมายฉบับใดมีเรื่องที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายฉบับนั้นย่อม บังคับใช้มิได้นอกจากนี้ยังมีกฎหมายอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ารัฐธรรมนูญได้แก่ กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ประกาศของคณะปฏิบัติบางฉบับ  และคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน รัฐธรรมนูญอาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ตามแต่ผู้มีอำนาจจะกำหนดเรียก เช่น พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 หรือธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย ซึ่งมักใช้ในระหว่างที่ประเทศอยู่ในอำนาจของการปฏิวัติหรือรัฐประหาร ส่วนประกาศคณะปฏิวัติ หรือคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินที่ให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญนั้น แม้โดยสภาพจะมิใช่รัฐธรรมนูญ แต่ก็มีศักดิ์เท่ากับรัฐธรรมนูญเพราะมีอำนาจยกเลิกรัฐธรรมนูญ
·        2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
                หมายถึงกฎหมายที่อธิบายขยายความเพื่อประกอบเนื้อความในรัฐธรรมนูญให้สมบูรณ์ ละเอียดชัดเจน ตามที่รัฐธรรมนูญมอบหมายและกำหนด พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีกระบวนการตราไม่แตกต่างจากพระราชบัญญัติ จะแตกต่างกันบ้างในประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการควบคุมตรวจสอบว่า ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่เท่านั้น ในระบบกฎหมายไทยต้องถือว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมิได้มีสถานะสูง กว่ากฎหมายธรรมดา     
 3. พระราชบัญญัติ
          เป็นกฎหมายที่มีชั้นลำดับรองจากรัฐธรรมนูญและเทียบเท่าพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายออกมาโดยอาศัยอำนาจของรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้รัฐสภามีอำนาจในการ พิจารณาออกพระราชบัญญัติ เช่น เดียวกับพระราชกำหนดที่รัฐธรรมนูญมอบอำนาจให้ฝ่ายบริหารคือคณะรัฐมนตรี พิจารณาออก พระราชกำหนดขึ้นใช้บังคับแทนพระราชบัญญัติเป็นการชั่วคราว ฉะนั้น พระราชบัญญัติก็ดี พระราชกำหนดก็ดี จึงขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้
4.  พระราชกำหนด
           คือ กฎหมายที่บัญญัติโดยฝ่ายบริหาร(คณะรัฐมนตรี) พระราชกำหนดเป็นรูปแบบหนึ่งของกฎหมายที่ฝ่ายบริหารคือ พระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรีตราขึ้นโดยอำนาจที่รัฐธรรมนูญให้ไว้ พระราชกำหนดมีอยู่ 2 ประเภท คือ
                1. พระราชกำหนดทั่วไป เป็นกรณีที่ตราพระราชกำหนดเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ และ
                2. พระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีและเงินตรา เป็นกรณีที่ตราพระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดินใน ระหว่างสมัยประชุมสภา
5. พระราชกฤษฎีกา
       พระราชกฤษฎีกา คือ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด
การตราพระราชกฤษฎีกา รัฐมนตรีซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องจะอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดนั้นๆ เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาต่อคณะรัฐมนตรีให้พิจารณา โดยร่างพระราชกฤษฎีกานั้น จะต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดที่เกี่ยวข้อง
เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว จะต้องนำร่างพระราชกฤษฎีกา ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์เพื่อทรงตราพระราชกฤษฎีกานั้นๆ นายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการจากนั้นจึงนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา บังคับใช้ต่อไป
6. กฎกระทรวง
          เป็นกฎหมายที่ออกมาโดยอาศัยกฎหมายแม่บท (ได้แก่พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด) เพื่อกำหนดรายละเอียดต่างๆ ของกฎหมายแม่บท ฉะนั้นกฎกระทรวงก็จะขัดต่อกฎหมายแม่บทไม่ได้
7. กฎหมายที่องค์กรส่วนท้องถิ่นบัญญัติ
                เป็นกฎหมายที่องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นออกโดยอาศัยอำนาจในการออกข้อบัญญัติ ท้องถิ่นได้ด้วยตนเอง ตามพระราชบัญญัติจัดจั้งองค์กรส่วนท้องถิ่นต่างๆ เช่นข้อบังคับตำบล เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา ฉะนั้นข้อบัญญัติท้องถิ่นต่างๆ จึงขัดหรือแย้งกับกฎหมายแม่บทไม่ได้
  
3. แชร์กันสนั่น ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ เหตุอ่านหนังสือไม่ได้ตามรายงานระบุว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "กวดวิชา เตรียมทหาร" ได้แชร์ภาพและข้อความที่เกิดขึ้นกับเด็กชายคนหนึ่ง ภาพดังกล่าวเผยให้เห็นสภาพแผ่นหลังของเด็กที่มีรอยแดงช้ำ โดยเจ้าของภาพได้โพสต์ไว้ว่า "วันนี้...ลูกชายวัย 6 ขวบ อยู่ชั้น ป.1 ถูกครูที่โรงเรียนตีหลังมา สภาพแย่มาก..(เหตุผลเพราะอ่านหนังสือไม่ค่อยได้) ซึ่งคนเป็นแม่อย่างเรา เห็นแล้วรับไม่ได้เลย มันเจ็บปวดมาก...มากจนไม่รู้จะพูดอย่างไรดี น้ำตาแห่งความเสียใจมันไหลไม่หยุด ถ้าเลือกได้ก็อยากจะเจ็บแทนลูกซะเอง พาลูกไปหาหมอ หมอบอกว่า แผลที่ร่างกายเด็กรักษาหายได้ แต่แผลที่จิตใจเด็กที่ถูกทำร้าย โดนครูทำแบบนี้ มันยากที่จะหาย บาดแผลนี้มันจะติดที่..หัวใจ..ของน้องตลอดไป" จากข้อความดังกล่าวในฐานะนักศึกษาเรียนวิชากฎหมายการศึกษาคิดอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งทุกคนจะต้องไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นี้  ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นปรากฏการดังกล่าวนี้ (5 คะแนน)
·       จากการที่ได้อ่านข่าวเรื่องนี้ซึ่งดิฉันก็กำลังจะไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นั้นดิฉันอ่านแล้วสึกเศร้าเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จากเรื่องดังกล่าวสามารถมองได้เด่นชัดเลยว่าครูกระทำเกินกว่าเหตุ ครูเอาอารมณ์มาเป็นตัวกำหนดตัดสินใจ ในการแก้ปัญหา จากกรณีนักเรียนอ่านหนังสือไม่ออกซึ่งเหตุการณ์นี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นภายในชั้นเรียนซึ่งครูมีหน้าที่แก้ปัญหาดังกล่าว ในเมื่อตัดสินใจเลือกที่จะประกอบอาชีพต้องทำหน้าที่นั้นให้สมบูรณ์เป็นครูมืออาชีพให้ได้ไม่ใช่แค่อาชีพครูแล้วสิ่งที่ครูพึงต้องมีคือ จรรยาบรรณ หากมองอีกมุมหนึ่งของนักเรียนอายุเพียงแค่ 6 ขวบ ยังมีเวลาที่จะแก้ปัญหา ครูต้องปรับตัวเองหรือเปลี่ยนวิธีการสอนแล้วหาแนวทางมาปรับกับเด็ก เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้แล้วเกิดการพัฒนาจนนักเรียนสามารถอ่านออกเขียนได้ถูกต้อง แต่ครูนั้นกลับแก้ปัญหาผิดจุด เอาอารมณ์มาเป็นตัวตัดสินใช้กำลังทำร้ายร่างเด็ก ซึ่งในวัยนั้นเป็นวัยแห่งการจดจำพฤติกรรมจากนักเรียนอ่านหนังสือไม่ได้เมื่อถูกกระทำแล้วอาจเป็นไปได้ว่านักเรียนเกิดความกลัว เกิดการฝังใจ ไม่กล้าแม้แต่จะฝึกต่อไป ไม่ได้พัฒนา หรือ นักเรียนอาจจำพฤติกรรมรุนแรงจากครูแล้วไม่สามารถแยกแยะได้จนกลายเป็นนักเรียนแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวกลับมาอีก ทุกคนไม่สามารถควบคุมได้ซึ่งเป็นปัญหาที่ยังเห็นได้ชัดในปัจจุบันนี้ที่วัยรุ่นไทยมีพฤติกรรมรุนแรง แก้ปัญหาด้วยการใช้กำลังซึ่งมักมีสาเหตุมาจากการถูกกระทำแล้วจำฝังใจ จากกรณีข่าวนี้ก็เช่นกันครูประพฤติรุนแรงกับนักเรียนอาจจะสร้างผลกระทบทางจิตใจในระยะยาวกับอนาคตก็เป็นได้ และจากข่าวข้างต้นครูประพฤติผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อปฏิบัติทางวินัยจึงต้องได้รับโทษทางวินัยที่ระบุไว้ในมาตรา 96 ซึ่งต้องโทษลาออก ดังนั้นหากครูไม่ต้องการจุดจบแบบเช่นนี้ ครูควรจะระงับอารมณ์ และใช้สติในการแก้ปัญหา

4. ให้นักศึกษา ศึกษาสวอท.วิเคราะห์ตัวนักศึกษาว่าเราเป็นอย่างไร (5 คะแนน)
·       จุดแข็ง (S)
                1.เวลาอาจารย์สอน จะคิดตามสิ่งที่อาจารย์พูด
                2.มาเรียนตรงเวลาและก่อนเวลาเสมอ
                3.เตรียมเอกสาร เนื้อหาก่อนมาเรียนเป็นประจำ
                4. มีการค้นคว้าเพิ่มเติมจากสิ่งที่เรียนไปจากในห้องเรียน
                5.รับผิดชอบงานที่อาจารย์สั่ง ส่งงานครบตามกำหนด และตรงต่อเวลาเสมอ
·       จุดอ่อน (w)
                1.สะเพร่า ทำงานพลาด
                2.ไม่ค่อยอ่านหนังสืออย่างสม่ำเสมอความจำสั้น
                3. เรียนหรืออ่านอะไรไปแล้วถ้าไม่ทบทวนจะลืม
                4. ความรู้ภาษาอังกฤษอยู่ในระดับที่จะต้องพัฒนา ปรับปรุง และต้องฝึกฝนอีกเยอะ
                5. ติดการเสพติดsocialมากจนเกินไปจนมีขี้เกียจในบางครั้งและมักจะผัดวันประกันพรุ่งในการฝึก ทบทวน
·       โอกาส (O)
                1.สามารถนำทฤษฎีที่เรียนมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้
                2.อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจนและเน้นย้ำสิ่งที่สำคัญเสมอ
                3.มีประสบการณ์การทำงานร่วมกับผู้อื่นในกลุ่ม และการอยู่ร่วมกันในห้องเรียน
                4.สามารถถามอาจารย์ในสิ่งที่ไม่เข้าและอาจารย์จะตอบคำถามให้อีกครั้งอย่างชัดเจน
                5. ได้เรียนรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษในเรื่องใหม่ๆไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของหลักการใช้ แต่ได้รู้ลึกถึงเรื่องต่างๆเกี่ยวภาษาอังกฤษ
·       อุปสรรค (T)
                1.จำความหมายศัพท์บางตัวไม่ได้
                2.มีปัญหาในเรื่องการใช้หลักไวยากรณ์บางตัว
                3.มีกิจกรรมระหว่างเรียนทำให้เนื้อหาที่เรียนไม่ต่อเนื่องกันทำให้บางครั้งลืมเนื้อหาที่เรียน


5. ให้นักศึกษาวิจารณ์อาจารย์ผู้สอนวิชานี้ในประเด็นการสอนเป็นอย่างไร บอกเหตุผล มีข้อดีและข้อเสีย (5 คะแนน)
·       ข้อดี
1.             อาจารย์จัดการเรียนการสอนที่ทันสมัย คือ ปรับเอาเทคโนโลยีมาใช้ในชั้นเรียน
2.             เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ทันสมัย นักศึกษาสามารถเรียนรู้ ส่งงาน ออนไลน์ได้ตลอดเวลา เพราะปัจจุบันนักศึกษาเกือบทุกคนต่างก็มีส่วนร่วมอยู่ในโลกออนไลน์ การเรียนแบบนี้ทำให้ง่าย และสะดวก
3.             การสั่งงานหรือการบ้านของอาจารย์มีความชัดเจน
4.             เมื่อมีการส่งงาน หรือ นำเสนองาน อาจารย์จะให้ความสนใจ และมีการตรวจอย่างละเอียด ให้ความสำคัญกับเนื้อหา ให้นักศึกษาปรับแก้ไข และค้นคว้าเพิ่มเติมจนนักศึกษาเกิดความเข้าใจและชัดเจนกับเนื้อหาที่ได้รับมอบหมายให้ทำ
5.             อาจารย์ให้ติดตามข่าวที่ทันสมัยและนำมาประยุกต์ความคิดเป็นของตัวเองซึ่งเป็นประโยชน์กับการไปเป็นครูในอนาคต


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น